พื้นที่คลองและสวนของฝั่งธนบุรี



หลักฐานสมัยใหม่ทำให้เราทราบว่า บริเวณบางกอก ถือว่าเป็นเมืองสำคัญมากสมัยอยุธยา เป็นเมืองท่า ค้าขาย เส้นทางเดินทางยุทธศาสตร์เข้าออกทางทะเลกับพระนครศรีอยุธยา จึงมีคนมาตั้งบ้านเรือนมากมายตั้งแต่สมัยอยุธยา ทั้งชาวไทยและชาวจีนหรือชาติอื่นๆ ที่เข้ามาค้าขายและทำสวนผลไม้


ด้วยสภาพพื้นที่ลุ่มติดแม่น้ำและมีคลองมาก จึงเหมาะต่อการปลูกผลไม้ รสชาติดีมากมาย มีต่างชาติเขียนบรรยากาศถึงบรรยากาศแบบสวนและความอร่อยของผลไม้ ซึ่ง่ต้องอาศัยการทดลองและความรู้หลายชั่วอายุคน ให้เข้ากัสภาพดิน น้ำ อากาศ


ช่วงแรกเริ่มของกรุงรัตนโกสินทร์ ถึงจะมีการสร้างพระราชวังไว้ที่ฝั่งกรุงเทพฯ แต่ชุมชนและบ้านเรือนของเจ้านายคนสำคัญก็ยังอยู่ที่ฝั่งธนฯ จนถึงยุครัชกาลที่ 4 มีการตัดถนน และมีการตัดเพิ่มขึ้นอย่างมากมายในสมัยรัชกาลที่ 5 ทำให้ผู้คนเริ่มขยายไปอยู่ฝั่งกรุงเทพและเกิดย่านการค้าในรูปแบบใหม่ อย่าง สีลม เยาวชราช บางรัก



พื้นที่ฝั่งธนฯ ก็ยังทำสวนผลไม้ แต่ก็ลดลงเมื่อมีการตัดถนน อย่างเช่น พอตัดถนนพระราม 2 (ธนบุรี-ปากท่อ) ก็ทำให้พื้นที่สวนบางมด ถูกขายไปทำหมู่บ้านจัดสรรจนเกือบหมด ที่ยังเหลืออยู่ก็น้อยลงเรื่อย ๆ พืชพันธ์ผลไม้ที่เคยมีมาก ก็ค่อย ๆ หายไป และพอระบบนิเวศน์เปลี่ยนไป และมีน้ำท่วมใหญ่ หลายครั้ง บางรายที่ยังทำสวนก็ย้ายไปปลูกที่ภาคตะวันออกแทน บางคนที่ย้ายมาอยู่ฝั่งธนฯ อาจจะไม่ทราบว่า เมื่อไม่กี่สิบปีที่แล้วที่ที่ตัวเองอยู่เคยเป็นสวนผลไม้ชื่อดัง ไม่ว่าจะเป็น ลิ้นจี่ ชมพู่มะเหมี่ยว มะไฟ สับปะรด ไปจนถึงทุเรียน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Vang Vieng LAOS เที่ยววังเวียง สปป.ลาว by BOO Planet

พิพิธภัณฑ์บ้านเอกะนาค ศูนย์กรุงธนบุรีศึกษา

โบสถ์คริสต์ สวยงามริมแม่น้ำเจ้าพระยา คริสตจักรที่ 1 สำเหร่